17 กรกฎาคม 2020
การจัดเวลาเพื่อพัก
มัทธิว 11:28-30
บรรดาผู้ทำงานเหน็ดเหนื่อยและแบกภาระหนัก
จงมาหาเรา และเราจะให้ท่านทั้งหลาย หายเหนื่อยเป็นสุข
จงเอาแอกของเราแบกไว้
แล้วเรียนจากเรา เพราะว่าเราสุภาพและใจอ่อนน้อม และจิตใจท่านทั้งหลายจะได้พัก
ด้วยว่าแอกของเราก็พอเหมาะ
และภาระของเราก็เบา
หลายครั้งที่เราสะสมความเหนื่อยล้า จนอาจจะไม่อยากทำอะไร ในขณะที่ข้าพเจ้ารู้สึกเช่นนั้น
บทใคร่ครวญประจำวันใน YouVersion Application เรื่องการจัดเวลาเพื่อพัก ก็ขึ้นมาให้ข้าพเจ้าเลือกใช้ในการใคร่ครวญ 5 วัน
ที่ผ่านมา เช้านี้ข้าพเจ้าจึงขอนำบทใคร่ครวญนี้มาแบ่งปันสำหรับเป็นข้อคิด หนุนใจ หากท่านใดเคยนำบทใคร่ครวญนี้มาเพื่อเฝ้าเดี่ยวประจำวันแล้ว
ก็ขอเป็นการใคร่ครวญร่วมกันอีกสักครั้ง
สรุปจากบทใคร่ครวญประจำวัน เรื่อง การจัดเวลาเพื่อพัก ใน YouVersion Application
การพักคืออะไร ?
ดูเหมือนว่าตารางชีวิตของเราจะมีแต่แน่นขึ้นในแต่ละเดือนที่ผ่านมา
เมื่อเราพยายามหาเวลาเจอเพื่อนๆ
เราต้องตกใจเมื่อพบว่ากว่าจะว่างอีกทีก็เลยเดือนหน้าไปแล้ว
ชีวิตเต็มไปด้วยกิจกรรมของลูกๆ งานของโบสถ์ โปรเจคที่ทำงาน
งานวันเกิดคนนั้นคนนี้ และยังมีทริปพักร้อนอีก เราวางโปรแกรมและกำหนดแผนชีวิตทั้งหมดโดยไม่ได้เว้นที่ว่างให้กับอะไรที่จะช่วยฟื้นคืนกำลังหรือหยุดพักเลย
บ่อยครั้งที่เรามักคิดว่าการพักคือการทำตัวเกียจคร้านหรือการนอนเล่นอยู่บ้านโดยไม่ทำอะไรเลย
จริง ๆ แล้วช่วงเวลาพักผ่อนของเราส่วนหนึ่งก็เป็นอย่างนั้น แต่ไม่ใช่ภาพรวมทั้งหมด
1. การพักคือการฟื้นตัว
คือการตระหนักรู้ว่าเมื่อไหร่เรากำลังเหือดแห้ง หมดพลัง
และต้องการสูดหายใจลึกๆ สักพัก คือการตระหนักถึงข้อจำกัดของตัวเอง
และวิธีที่เรารับมือกับภารกิจประจำวันต่าง ๆ
ร่างกายของเราจะฟื้นตัวได้อย่างแท้จริงก็ต่อเมื่อเราได้พักผ่อนอย่างสมบูรณ์เพียงพอ
ซึ่งหมายถึงการนอนหลับให้สนิทในตอนกลางคืน
หากเรารู้สึกอ่อนเพลียอยู่เป็นประจำก็ควรประเมินดูว่านอกจากชั่วโมงการนอนแล้ว
เราเลือกนอนในช่วงเวลาที่ถูกต้องด้วยหรือไม่
2. การพักคือการปลุกความสดชื่น
คือการเรียนรู้ว่าอะไรทำให้เรากระชุ่มกระชวยและอะไรทำให้เราห่อเหี่ยว
คือการเลือกทำกิจกรรมที่ปลุกจิตวิญญาณให้สดชื่น ซึ่งอาจเป็นการนิ่งสงบก็ได้เช่นกัน
หากเราทำแต่กิจกรรมที่ดูดพลัง ความสดชื่นก็ไม่มีทางกลับมา ทั้งที่จริง ๆ แล้วเราควรมองหาสิ่งที่เติมพลังมากว่า
หากเปรียบความสดชื่นเป็นถังหนึ่งใบ ในช่วงเวลาของการพักเราควรเลือกการเติมถังนี้ให้เต็ม
มากกว่าการสูบออกจากถังจนหมด
3. การพักคือการสร้างใหม่
คือการรับการเปลี่ยนแปลงใหม่จากเบื้องลึกในทุก ๆ ส่วนของชีวิต
คือการใช้เวลากับพระเจ้าเพื่อให้จิตวิญญาณของเราได้รับการสร้างใหม่
อาจมีกิจกรรมที่เราชอบหลายอย่างที่ทำให้จิตใจสดชื่นได้
แต่ท้ายที่สุดเราต้องการสดชื่นในระดับจิตวิญญาณ
ซึ่งพบได้จากการใช้เวลากับพระเจ้าในแต่ละวัน
จากประสบการณ์ของตัวเอง
กับคนรอบข้างที่พูดคุยแบ่งปันกัน คือ เหมือนร่างอยากพัก หลังจากพักแล้วจิตใจก็สดชื่น
เหมือนได้เติมเต็ม แต่เมื่อกลับมาสู่สภาวะปกติ ความสดชื่นก็หดหายอีก
จัดเวลาเพื่อพักอย่างไร
1. ใคร่ครวญ
การใคร่ครวญพระคำของพระเจ้า
ริค วอร์เรน ได้กล่าวไว้ว่า “เชื่อไหมครับ ถ้าคุณกังวลเป็น
คุณก็จะรู้แล้วว่าจะใคร่ครวญพระคำได้อย่างไร
การกังวลคือการจดจ่อไปที่ความคิดลบและนึกถึงมันซ้ำไปซ้ำมา
แต่หากคุณเปลี่ยนเป็นจดจ่อที่พระคำพระเจ้าสักตอนหนึ่งและคิดถึงมันซ้ำไปซ้ำมา
นั่นแหละคือการใคร่ครวญ”
พระคัมภีร์กล่าวถึงการใคร่ครวญไว้มากกว่า 20 ครั้ง
และได้เรียกให้เราใคร่ครวญพระคำของพระเจ้า การฝึกใคร่ครวญพระคำเป็นประจำทุกวันมีประโยชน์อย่างยิ่งเพราะช่วยให้เราได้พักทั้งความคิดและอารมณ์
ความรู้สึก และยังช่วยให้จิตวิญญาณเติบโต
ในขณะที่เราใช้เวลาอ่านพระคัมภีร์ในแต่ละวัน
ให้เรามองให้ลึกเข้าไปในเนื้อหาและสนทนากับพระเจ้าในเรื่องนั้น ๆ
เพื่อช่วยให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้น
ขณะที่เราใคร่ครวญพระคำของพระเจ้า
จิตใจของเราจะได้รับการฟื้นฟูและเราจะพบกับการพักสงบที่เราไม่เคยคิดว่าจะเป็นไปได้
ดังเช่นข้อพระคัมภีร์ข้างต้น มัทธิว 11:28-30 บรรดาผู้ทำงานเหน็ดเหนื่อยและแบกภาระหนัก
จงมาหาเรา และเราจะให้ท่านทั้งหลาย หายเหนื่อยเป็นสุข จงเอาแอกของเราแบกไว้
แล้วเรียนจากเรา เพราะว่าเราสุภาพและใจอ่อนน้อม และจิตใจท่านทั้งหลายจะได้พัก ด้วยว่าแอกของเราก็พอเหมาะ
และภาระของเราก็เบา แต่ละคนอาจได้รับเสียง ความรู้สึกที่เกิดภายในจิตวิญญาณที่ต่างกัน
แต่สิ่งที่ได้รับเหมือนกันคือสันติสุข และคำตอบ
2. ฟื้นฟูจิตใจด้วยการจดบันทึก
คุณครุ่นคิดถึงอะไรสิ่งนั้นก็จะเติบโต
อย่าจดจ่ออยู่กับสิ่งที่คุณเผชิญอยู่ จงจดจ่อไปที่สิ่งที่คุณกำลังจะทำ - ดร. แคโรไลน์ ลีฟ
การจดบันทึกประจำวันช่วยให้เราสามารถมองย้อนกลับไปเพื่อดูความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณที่เราได้ทำและวิธีการใหม่ๆ
ที่พระเจ้าทรงตรัสกับเราในช่วงเวลาที่ผ่านมา ซึ่งการจดบันทึกที่ในบทใคร่ควรญนี้ได้แนะนำคือ
ทำแบบง่ายๆ เขียนเพียงสองสามบรรทัดจากความเข้าใจที่เราอ่านพระคัมภีร์ จากความคิด
หรือคำอธิษฐานของเรา โดยที่ได้เลือกข้อพระคัมภีร์ อ่านซ้ำ เขียนลงไป
ทูลขอความเข้าใจ การเขียนไม่ได้มีผิดมีถูก การเขียนทำให้เราสามารถย้อนกลับไปดูความก้าวหน้าทางด้านจิตวิญญาณของเราได้
เราจะมองเห็นสิ่งต่าง
ๆ อย่างชัดเจน และมีมุมมองใหม่ๆ
เกี่ยวกับวิธีที่พระวจนะของพระเจ้าประยุกต์ใช้กับชีวิตของเรา
และฟื้นฟูเราจากภายในสู่ภายนอก และเมื่อจิตใจของเราได้รับการฟื้นฟูแล้ว
เราจึงได้รับการฟักผ่อนที่ไม่สามารถหาได้จากที่ใด ๆ ทางโลก
3. ตัดขาดจากสิ่งรบกวน
หนึ่งในคำนิยามของการพักก็คือ
การเป็นอิสระจากความกังวลและการรบกวน ชีวิตในโลกทุกวันนี้เต็มไปด้วยสิ่งต่างๆ
ที่พร้อมจะรบกวนการพักของเราและทำให้เรากังวล สิ่งเหล่านั้นอาจจะน่าสนุกชั่วครู่
ชั่วคราว และมองเผินๆ ก็เหมือนจะทำให้เราสดชื่นได้ แต่ในท้ายที่สุดเรากลับหมดพลังและไม่ได้พักผ่อนอย่างแท้จริง
ผู้คนมากมายต่างออกมาพูดถึงวิธีต่าง
ๆ ในการปลีกตัวจากโลกที่ทุกสิ่งเชื่อมต่อกันไปหมด มีทั้งหนังสือ บทความ พ็อดแคสท์ Youtube Facebook และข้อเขียนมากมายที่ออกมาบอกถึงขั้นตอนต่าง
ๆ ในการเอาชนะบรรดาสิ่งรบกวน แต่ละคนไม่ได้เสียสมาธิ เป็นทุกข์ กังวล เพราะเรื่องเดียวกันทั้งหมด
อะไรที่รบกวนคนๆ หนึ่งอาจจะไม่มีผลกระทบอะไรกับอีกคนหนึ่งเลยก็ได้
หนึ่งในคำนิยามของการพักก็คือ การเป็นอิสระจากการกังวลและการรบกวน
ชีวิตในโลกทุกวันนี้เต็มไปด้วยสิ่งต่าง ๆ ที่พร้อมจะรบกวนการพักของเราและทำให้เรากังวล
สิ่งเหล่านี้อาจจะน่าสนุกชั่วคราว และมองเผิน ๆ ก็เหมือนจะทำให้เราสดชื่นได้
แต่ในท้ายที่สุดเรากลับหมดพลังและไม่ได้พักผ่อนอย่างแท้จริง
เราต้องรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่รบกวนเรา
ไม่ว่าอะไรจะเป็นปัจจัยที่ขโมยสันติสุขและการพักผ่อนไปจากเราก็ตาม เราจำเป็นต้องกำหนดขอบเขต
เช่น ไม่จดจ่อกับสิ่งที่ไขว้เขวไปตามความกังวลที่โลกหยิบยื่นให้
4. เติมเต็มเพื่อเทออก
เหตุผลที่เราจำเป็นต้องพักก็เพราะเราต้องทำงานหรือใช้พลังงานอยู่เสมอ
และการที่เราเรียนรู้ที่จะพัก หรือการที่เรารู้สึกว่าได้พัก ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะอยู่ในสภาวะนั้นไปได้ตลอด
ประเด็นสำคัญไม่ใช่การหยุดพักเพียงเพื่อให้ได้พัก
แต่การพักเป็นไปเพื่อให้เรากลับไปทำงานต่อได้
การทำงานและการพักผ่อนเป็นเหมือนกระแสน้ำที่ผลัดกันขึ้นลง
เป็นภาพของการรับการเติมให้เต็มเพื่อจะมีพอให้เทออก
การใคร่ครวญพระคำพระเจ้า
ตัดขาดสิ่งรบกวนต่าง ๆ หากเราทำสิ่งเหล่านี้ได้ทุกวันเราก็ย่อมได้พัก ร่างกายต้องการนอนหลับให้เพียงพอในแต่ละคืนอย่างไร
จิตวิญญาณก็ต้องการพักผ่อนไม่ต่างกัน เราคาดหวังให้จิตวิญญาณเข้มแข็ง
สดชื่น โดยไม่ลงทุนอะไรเลยไม่ได้ เราไม่ควรคาดว่าการพักร้อนแค่หนึ่งสัปดาห์จะช่วยเราทำงานไม่หยุดไปได้เป็นเดือนๆ
เราต้องเติมถังแห่งการพักเป็นประจำทุกวัน เพื่อจะมีแรงยืนหยัด
และเราต้องคอยระวังเมื่อใดที่ถังของเราถูกสูบออกมากจนเกินไป
ในหนังสือ
นำอย่างว่างเปล่า: เติมเต็มถัง คืนพลังให้ฝัน เวย์น คอร์เดย์โร ผู้เขียนและศิษยาภิบาลได้เล่าถึงเรื่องที่เขาเคยฝัน
หญิงส่วนคนหนึ่งมาหาชาวสวนที่ฟาร์มและขอซื้อของที่ชาวสวนไม่มีให้ ชาวสวนกล่าวว่า “พรุ่งนี้ค่อยมาใหม่นะครับ เดี๋ยวผมจะมีมากกว่านี้” หญิงสาวคนนั้นไม่พอใจ
แต่ก็ไม่ได้ว่าอะไร ชาวสวนทำงานของเขาต่อไป ทุก ๆ วันจะมีคนมาหาเขาที่ฟาร์ม
และเมื่อใดที่เขาไม่มีไข่หรืนมเหลือ เขาก็จะเพียงบอกคนเหล่านั้นว่า “พรุ่งนี้ค่อยมาใหม่นะครับ เดี๋ยวผมจะมีมากกว่านี้” ศิษยาภิบาลคอร์เดย์โรเล่าถึงมุมมองใหม่ที่เขาค้นพบหลังจากความฝันนี้ว่า
ผมไม่จำเป็นต้องเอาตัวเองไปผูกกับวงจรความคาดหวังที่เกินจริงและใจร้ายใจดำ
ที่บอกให้ผมต้องผลิตให้มากขึ้น ทำให้มากขึ้น หรือต้องได้มากกว่าสัปดาห์ก่อน
ในหนึ่งวันผมก็มีเวลาอยู่เท่านั้น
และผมอยากจะทุ่มเทใจทั้งหมดให้กับสิ่งที่ผมเลือกทำ เมื่อหมดวัน ผมก็จะแค่บอกว่า “พรุ่งนี้ค่อยมาใหม่นะครับ
เดี๋ยวผมจะมีมากกว่านี้”
ทุก ๆ เช้า เราตื่นขึ้นพร้อมกับพลังความคิด อารมณ์ และร่างกายในระดับหนึ่ง
และเมื่อเราเททุกสิ่งที่เรามีออกไปจนหมด เราก็ต้องพัก
ซึ่งการที่เราอยู่ในสภาวะว่างเปล่าเช่นนี้ยังทำให้พระเจ้าทำงานในชีวิตเราได้มากขึ้นอีกด้วย
ข้อคิด
เราคิดว่าชีวิตของเราส่วนไหนต้องการพักมากที่สุด
ร่างกาย จิตใจ หรือจิตวิญญาณ? กันแน่
โยชูวา 1:8
อย่าให้หนังสือธรรมบัญญัตินี้ห่างเหินไปจากปากของเจ้า
แต่เจ้าจงตรึกตรองตามนั้นทั้งกลางวันและกลางคืน
เพื่อเจ้าจะได้ระวังที่จะกระทำตามข้อความที่เขียนไว้นั้น ทุกประการ
แล้วเจ้าจะมีความจำเริญ และเจ้าจะสำเร็จผลเป็นอย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น